สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 37 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนวัตกรในสาขาที่ขาดแคลน เพื่อเป็นฐานกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดยให้ทุน พสวท. แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มีศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับปริญญาเอกในสาขาวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ
การดำเนินงานตลอดเวลาที่ผ่านมา มีผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีบัณฑิต พสวท. ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 1,471 คน ได้กลับมาทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ และได้สร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมจำนวนมาก ทำให้ได้รับรางวัลมากขึ้นเป็นลำดับ ได้แก่ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลนักนิวเคลียร์ดาวรุ่ง และรางวัลเมธีส่งเสริมนวัตกรรม ฯลฯ
บัณฑิตทุน พสวท. ผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ ประจำปี 2566
สสวท. ได้จัดให้มีการเชิดชูเกียรติบัณฑิต พสวท. เข้าสู่หอเกียรติยศ DPST Hall of Fame เป็นปีแรก ในปี พ.ศ. 2559 โดยคัดเลือกบัณฑิต พสวท. ที่สมควรได้รับการยกย่อง เพื่อประกาศเกียรติคุณและคุณงามความดีที่สร้างองค์ความรู้ทางวิชาการในภาพรวมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง และสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติเป็นที่ประจักษ์ โดยมุ่งเน้นคัดเลือกบัณฑิต พสวท. ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมดีงาม มีความรู้ความสามารถ เป็นที่ยอมรับยกย่องในวงการวิชาการและในสังคมวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักวิทยาศาสตร์–นักวิจัย นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่รับทุน พสวท. และเยาวชนอื่น ๆ ที่สนใจในเส้นทางอาชีพวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในอานาคต นอกจากคุณสมบัติของบัณฑิต พสวท. ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังหมายรวมถึง บัณฑิต พสวท. ที่อุทิศตนอย่างต่อเนื่องให้แก่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และ/หรือ หลายเรื่องในกลุ่มวิชาการ หรือสหวิทยาการ มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นเลิศ แสดงถึงความคิดริเริ่ม ซึ่งได้ทำการวิจัยสะสมกันมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่มีการตรวจสอบคุณภาพอย่างเคร่งครัด นั่นคือบัณฑิต พสวท. ที่จะได้รับการจารึกชื่อไว้ใน DPST Hall of Fame จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
คัดเลือกจากบัณฑิต พสวท. ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมสูง และ ได้รับ:
รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ
รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากสภาวิจัยแห่งชาติ หรือ
รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมูลนิธิโทเร ประเทศไทย หรือ
รางวัลระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับมาตรฐานสากล
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานอื่นเทียบเท่า ระดับกรมขึ้นไป ได้แก่
ตำแหน่งรองอธิบดี รองอธิการบดี รองผู้อำนวยการ ขึ้นไป
ตำแหน่งคณบดี หรือเทียบเท่าในมหาวิทยาลัยหรือในหน่วยงานของรัฐที่เทียบเท่าระดับมหาวิทยาลัย
การแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์
รางวัลสำหรับ DPST Hall of Fame
ชุดสูท DPST Hall of Fame
เผยแพร่ผลงานต้นแบบสู่สาธารณชน
มีคุณธรรมและจริยธรรมสูง
มีคุณธรรมและจริยธรรมสูง เป็นที่ยอมรัยและยกย่อง
ในวงการวิชาการสาขานั้น ๆ และเป็นแบบอย่างที่ดี
แก่ บัณฑิต พสวท. นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยอื่น ๆ
ผลงานยอมรับในวงการวิชาการ
มีสิ่งตีพิมพ์ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์
หรือผลงานในรูปอื่นที่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ
และ/หรือ เป็นประโยชน์แก่สังคมอย่างกว้างขวาง
สร้างคุณูปการต่อวงการวิชาการ
มีผลงานวิจัยที่สร้างคุณูปการ
ต่อวงการวิชาการ
และต่อประชาชน
ทรงคุณวุฒิ
ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และ/หรือ
บริหารระดับสูงของหน่วยงาน
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สสวท.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology
พสวท.
พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Development and Promotion of Science and Technology Talents
หอเกียรติยศ
หอเกียรติยศ DPST Hall of Fame
เพื่อประกาศเกียรติคุณ บัณฑิต พสวท. ที่ได้รับคัดเลือกจารึกชื่อไว้ใน DPST Hall of Fame
“ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยการลงมือทำ และบนพื้นฐานของความถูกต้องโปร่งใส เป็นธรรม และคำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนร่วมเป็นที่ตั้ง”
“การประสบความสำเร็จต้องมาจากความทุ่มเทและมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อส่วนรวม”
“IN THE FAITH OF SCIENCE จงศรัทธาในวิทยาศาสตร์ สทธา สาธุ วิชชา”
“ทำงานด้วยความสุขและมีอิทธิบาท 4”
“อดทน เพียรพยายามและสม่ำเสมอ”
“ความตั้งใจ มุ่งมั่น และไม่ลดละความพยายาม ทำให้ทุกสิ่งเป็นไปได้”
“การจะไปสู่ดวงดาวได้ต้องผ่านความยากลำบากไปเท่านั้น PER ASPERA AD ASTRA”
“ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยการลงมือทำ และบนพื้นฐานของความถูกต้องโปร่งใส เป็นธรรม และคำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนร่วมเป็นที่ตั้ง“ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ยากที่จะเกิดขึ้นหากปราศจากความร่วมมือ การสร้าง ECOSYSTEM ทางวิทยาศาสตร์ที่ดีในประเทศไทยก็เช่นกันทุกคนต้องช่วยกัน”