ศ.ดร.สาธิต แซ่จึง
ศาสตราจารย์
ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ระยะทางเท่ากับอัตราเร็วคูณเวลา หากเพิ่มอัตราเร็วไม่ได้ ให้เพิ่มเวลาแทน
- พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2546 ปริญญาเอก (คณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2543 ปริญญาโท (คณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2541 ปริญญาตรี (คณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2537 มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย
- พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2546 ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- พ.ศ. 2551 รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2551 รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ TWAS สาขาคณิตศาสตร์ จากสภาวิทยาศาสตร์สำหรับประเทศพัฒนา ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- พ.ศ. 2551 รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
- พ.ศ. 2554 ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 5 ของ TWAS Young Affiliates for the period 2011-2015 ในแถบเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้และแถบแปซิฟิกจาก TWAS Regional Office for East and South-East Asia and the Pacific (TWAS-ROESEAP)
- พ.ศ.2554-พ.ศ. 2560 กรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- พ.ศ.2557-พ.ศ. 2559 รองหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มีส่วนร่วมหลากหลายในวงการวิชาการด้านคณิตศาสตร์ทั้งภายในและต่างประเทศ
งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานทางด้านคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ ในสาขาการวิเคราะห์ฟังก์ชันนัล (functional analysis) จำนวน 91 เรื่อง (h-index=16; citations=1034; ข้อมูล 1 มิถุนายน 2564) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1) สมบัติเชิงเรขาคณิตและทฤษฎีบทจุดตรึง โดยมุ่งเน้นไปยังการวิเคราะห์และศึกษาสมบัติที่ไม่ผันแปรภายใต้สมมิติเชิงเส้น (linear isometry) และเงื่อนไขที่เพียงพอ (sufficient condition) ที่ยืนยันการมีอยู่จริงของจุดตรึงของการส่งแบบต่างๆ
2) ระเบียบวิธีจุดตรึง (fixed point algorithm) และปัญหาที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นการคิดค้นใหม่และปรับปรุงระเบียบวิธีในการประมาณค่าจุดตรึงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและประยุกต์ใช้ผลงานเพื่อหาคำตอบของปัญหาต่างๆ ที่มีนัยทั่วไปกว่าและได้ผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าระเบียบวิธีเดิมที่ใช้อยู่
3) เสถียรภาพของสมการเชิงฟังก์ชัน (stability of functional equation) ซึ่งเป็นการศึกษาพฤติกรรมของคำตอบของสมการเชิงฟังก์ชันแบบต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบเมื่อได้รับการปรับเปลี่ยนตัวสมการให้มีความผ่อนปรนมากขึ้น (relaxation) โดยอาศัยแนวคิดจากทฤษฎีการประมาณค่าแบบต่างๆ