Scroll Top

รศ.ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี

คณบดี
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

We only live once, Let’s live life to the fullest

ประวัติการศึกษา
  • พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2534    วิทยาศาสตร์บัณฑิต (ชีววิทยา) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สถาบัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2539   ปริญญาโทสาขา Biological Sciences, University of California at Santa Barbara, USA

  • พ.ศ. 2539. พ.ศ. 2541   ปริญญาเอกสาขา Ecology, Evolution and Marine Biology, University of California at Santa Barbara, USA

ประวัติการทำงาน
  • พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน     คณบดี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • พ.ศ. 2561 – 2562         รักษาการแทนคณบดี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน      Chair of GLOBE Science Working Group
  • พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2559   GLOBE Science Working Group
รางวัลเกียรติยศ
  • พ.ศ. 2547 นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2547 ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2547 ทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีรุ่นใหม่ในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2547
  • พ.ศ. 2548 นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของสภาวิทยาศาสตร์แห่งโลกที่สาม ประจำปี 2548 “2005 TWAS Prize for Young Scientists in Thailand” สาขาชีววิทยา
  • พ.ศ. 2550 ครูดีเด่นด้านการวิจัย ประจำปี 2550 ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • พ.ศ. 2557 ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ดีเด่น ด้านการงานและอาชีพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2557
  • พ.ศ. 2557 ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดีเด่น ด้านผลงานเด่น ประจำปี 2557
  • พ.ศ. 2558 รางวัลประเภทเชิดชู โครงการดีเด่นด้านการบริการวิชาการเด่นประจำปีงบประมาณ 2558 โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการฟื้นฟูแนวปะการังด้วยระบบนิเวศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • พ.ศ. 2562 รางวัล GLOBE STAR Award 2019 for Scientist โดย สสวท.
  • พ.ศ. 2563 รางวัลเชิดชูเกียรติด้านการวิจัย ด้าน Research productivity (Scopus/ISI) นักวิจัยรุ่นอาวุโสประจำปี 2563 โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • พ.ศ. 2563 รางวัลผลงานดีเด่นด้านการบริการวิชาการ ผลงานเรื่อง “โครงการสำรวจความหลากหลายและภูมิปัญญาสมุนไพรสำหรับสุขภาพระดับชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช” ผลงานดีเด่นตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีงบประมาณ 2563
  • พ.ศ. 2563 รางวัล “สตรีตัวอย่างแห่งปี” “Women’s Examplified Award 2020” พุทธศักราช 2563 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมูลนิธิเพื่อสังคมไทย
ผลงานด้านบริหาร
  • พ.ศ. 2562. – ปัจจุบัน ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีการขับเคลื่อนให้คณาจารย์ในสำนักวิชาผลผลิตผลงานสู่ระดับสากล และได้กระตุ้นให้คณาจารย์ในสำนักวิชามีการขอตำแหน่งวิชาการเพิ่มขึ้นและได้รับการรับรอง UKPSF ระดับ Fellow และ ระดับ Senior Fellow 100%
  • พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง Chair of GLOBE Science Working Group โดยได้เป็นตัวแทนของผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิทยาศาสตร์ของ Asia Pacific Region ในการกำหนดกรอบนโยบายของโครงการ GLOBE ในปี พ.ศ. 2557 และในปี พ.ศ. 2559 ได้รับคัดเลือกให้เป็น Chair of GLOBE Science Working Group เพื่อช่วยโครงการ GLOBE ในการกำหนดนโยบายทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับโครงการ GLOBE ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากองค์การนาซ่า (NASA) มี 115 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมโครงการ
ผลงานด้านการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
  • ดิฉันเป็นนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ พสวท.) รับทุนพสวท. ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงปริญญาเอก จบปริญญาตรีสาขาวิชาชีววิทยา ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปีการศึกษา 2534 และได้ไปศึกษาต่อจนจบปริญญาเอกด้าน Ecology, Evolution and Marine Biology จาก University of California at Santa Barbara ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีการศึกษา 2541 จากนั้นได้กลับมาปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับหน้าที่สอนรายวิชาต่างๆ ด้านชีววิทยาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา และควบคุมวิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก อาจารย์ได้ปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เปิดเป็นหลักสูตรนานาชาติเป็นหลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2551 ปัจจุบันนี้ได้ผลิตนักศึกษาปริญญาเอกไปแล้วมากกว่า 30 คน เป็นการสร้างบุคลากรระดับปริญญาเอกที่สำคัญของประเทศ
  • ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ดิฉัน ร่วมกับ รศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์หลักภายใต้การสนับสนุนจาก สสวท. ในการพัฒนา GLOBE Mosquito Protocol และ NASA GLOBE Observer APP: Mosquito Habitat Mapper APP ที่ให้ครู นักเรียนในโครงการ GLOBE และ Citizen of Scienceจากทั่วโลกได้ใช้ในการศึกษา mosquito larval species diversity, abundance, location และร่วมกำจัดยุงที่เป็นพาหนะนำโรคซิก้า ไข้เลือดออกและมาลาเรียทั่วโลก และยังดำรงตำแหน่งเป็น Chair ของ GLOBE Science Working Group ในการกำกับดูแลให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับโครงการ GLOBE ซึ่งมีครูนักเรียนจาก 127 ประเทศเข้าร่วมโครงการ
  • ด้านการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับครู นักเรียนและบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศตลอดระยะเวลา 23 ปีที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาทิ โครงการโอลิมปิกสาขาชีววิทยา โครงการอบรมครูสาขาชีววิทยา การอบรม ICT สาขาชีววิทยา อบรมครูแกนนำเกี่ยวกับการใช้แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ อบรมครูและอาจารย์มหาวิทยาลัย GLOBE Hydrology: Basic and Advanced Protocol การอบรมการใช้สถิติการวิจัยและการประมวลผลโดยใช้ Mathematica & SPSS จัดค่ายความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) อบรมการใช้สถิติการวิจัยและการประมวลผลโดยใช้ SPSS อบรมเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการให้กับคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎ จัดค่ายวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปะการัง ยุง CloudSat และ Mathematics in Nature เป็นต้น
  • ด้านการวิจัยและบริการวิชาการไปด้วยกัน ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับด้านพฤติกรรมของสัตว์ นิเวศวิทยาทางทะเล และ ระบาดวิทยา ซึ่งได้ศึกษาอย่างจริงจังตลอดมา ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับปลากัดป่า ผลจากงานวิจัยเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดป่าในอนาคต ด้วยความสนใจด้านชีววิทยาทางทะเลเป็นพิเศษ จึงผลักดันให้ดิฉันขยายขอบเขตการวิจัยศึกษาปูก้ามดาบในพื้นที่ป่าโกงกาง ได้รับรางวัลหลายรางวัล อาทิ นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2547 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีรุ่นใหม่ ประจำปี 2547” รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของสภาวิทยาศาสตร์แห่งโลกที่สาม ประจำปี 2548 “2005 TWAS Prize for Young Scientists in Thailand” สาขาชีววิทยา เป็นคนที่ 9 ของประเทศไทย และเป็นคนที่ 3 ของสาขาชีววิทยาที่ได้รับรางวัลนี้ ครูดีเด่นด้านการวิจัย ประจำปี 2550 ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ดีเด่น ด้านการงานและอาชีพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2557 ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดีเด่น ด้านผลงานเด่น ประจำปี 2557 และรางวัลประเภทเชิดชู โครงการดีเด่นด้านการบริการวิชาการเด่นประจำปีงบประมาณ 2558 ได้ศึกษาผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อการเปลี่ยนทางนิเวศวิทยาและ ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นผู้ประสานงานชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช มีโครงการวิจัยย่อย 18 โครงการ โดยการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาองค์ความรู้ และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) และโครงการวิจัยที่ทำร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานัน 6 โครงการ ได้ทำ “โครงการเด็กหมวกเขียว” ที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสนับสนุนของโครงการ BRT และกลุ่มปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในโรงเรียน ให้เรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คิดเป็น ทำเป็น ใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เป็น เน้นการศึกษาทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศ มี 16 โครงการย่อย เป็นการทำวิจัยร่วมกันระหว่างครู นักเรียน และนักวิทยาศาสตร์ เป็นงานวิจัยที่บูรณาการความรู้ทางด้านชีววิทยาพื้นฐานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลที่ได้คือ ชุมชนท้องถิ่นเรียนรู้การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน ตลอด 23 ปีของการปฏิบัติงาน ดิฉันได้ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติกว่า 100 เรื่อง ได้เสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการกว่า 250 เรื่อง ได้แต่งตำราหนังสือและบทความวิชาการอีกจำนวนมาก ด้วยความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณต่อวิชาชีพอาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ตั้งใจ มุ่งมั่น ทุ่มเท ถ่ายทอดความรู้ให้กับวงวิชาการ ศิษย์ และเยาวชนอย่างจริงจัง
 
ผลงานด้านวิชาการ/งานวิจัย
  1. Animal behavior, Coral and reef fish ecology, fiddler ecology, coral sensor network, Reef restoration, biostatistics
  2. ผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติกว่า 80 บทความ ในวารสาร SCOPUS กว่า 40 บทความ และ conference proceedings กว่า 250 บทความ บทความที่ลงในวารสารทั่วไปกว่า 100 บทความ หนังสือกว่า 5 เล่ม
  3. โครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนกว่า 120 โครงการวิจัย และผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัย 1 ชุดโครงการวิจัย (22 โครงการวิจัยย่อย)

ผลงานตีพิมพ์ในฐานข้อมูล

Link ที่เกี่ยวข้อง